ธรรมชาติขององค์การและความหมายของมนุษยสัมพันธ์


2. ธรรมชาติขององค์การ:

ภายใต้เงื่อนไขที่ถูกกำหนดขึ้นตามความหมายขององค์การ ดังได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น ย่อมทำให้เกิดสภาวะการณ์ภายในองค์การที่คล้าย ๆ กันประการหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นองค์การใดก็ตาม นั่นคือ ปฏิสัมพันธ์ของบุคคลภายในองค์การหาได้ดำเนินไปอย่างราบรื่นจนบรรลุวัตถุประสงค์ง่ายดาย แต่องค์การแทบทุกองค์การจะมีอุปสรรค ความไม่สะดวก ความไม่ราบรื่นอยู่บ้างไม่มากก็น้อย จนแทบจะกลายเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งขององค์การไปเสียแล้ว แต่ ตราบใดที่อุปสรรค และความไม่ราบรื่นเกิดขึ้นเพียงระดับหนึ่งที่พอจะทำให้องค์การสามารถดำเนินไปสู่ จุดหมายปลายทางได้เป็นส่วนใหญ่ได้แล้ว ก็สมควรที่จะกล่าวว่า องค์การนั้น ๆ ยังอยู่ในภาวะปกติวิสัย ในทางตรงกันข้าม หากองค์การใดองค์การหนึ่งเต็มไปด้วยความไม่ราบรื่นนานัปการ จนตกกระทบถึงจุดหมายปลายทางขององค์การเป็นต้นว่า ผลเสียมากกว่าผลดี ในทางคุณภาพ และได้ผลน้อยกว่าที่คาดในทางปริมาณเช่นนี้แล้ว ก็สมควรกล่าวว่า องค์การควรได้รับการปรับปรุงดัดแปลงหรือแก้ไขไม่อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะองค์การเช่นนี้อยู่ในสภาวะปกติ ความนัยที่กล่าวถึงสาเหตุที่จะทำให้องค์การใดองค์การหนึ่งอยู่ในสภาวะที่ปกติได้อย่างไรหรือไม่นั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการแล้ว ปัจจัยที่สำคัญที่สุดก็คือ ปัจจัยที่เกี่ยวกับ บุคลากรในองค์การ กล่าวคือหากปฏิสัมพันธ์ของบุคลากรในองค์การเป็นไปในรูปแบบหนึ่ง ก็จะเกิดสภาวะหรือผล (Out Put) แบบหนึ่งขึ้นในองค์การนั้น ซึ่งย่อมแตกต่างไป จากสภาวะการณ์ ของในอีกองค์การหนึ่ง ที่ปฏิสัมพันธ์ของบุคคลกรเป็นไปในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง หากปฏิสัมพันธ์ของบุคคลในองค์การเปลี่ยนแปรก็จะทำให้ผลงานหรือสภาวะการณ์ในองค์การนั้นเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยกล่าวโดยสรุป ปฏิสัมพันธ์ต่อกันของบุคคลในองค์การใด ๆ ย่อมมีส่วนสัมพันธ์อย่างมากกับความสำเร็จขององค์การนั้น ๆ อย่างไม่ต้องสงสัยทีเดียวดังนั้น ในขณะที่มีแนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับการวางแผน และการจัดองค์การให้มีสิทธิภาพ โดยเน้นการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่จะต้องพิจารณาโดยประณีตนั้น ก็จะต้องพิจารณาถึงประเด็นของมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) ควบคู่กันไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกประการหนึ่งเป็นสำคัญด้วย ทั้งนี้เพราะทั้งสองสิ่งนี้เป็นเรื่องของบุคคล เป็นเรื่องของความเป็นมนุษย์


3. ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations):


กล่าวโดยทั่วไป มนุษยสัมพันธ์อาจพิจารณาได้ 2 ระดับ คือ1) ระดับบุคคล : มนุษยสัมพันธ์ หมายถึงความสามารถของบุคคลในอันที่ จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และผู้อื่นก็ไม่มีความทุกข์2) ระดับบริหาร : มนุษยสัมพันธ์ คือ ความสามารถในการทำให้ผู้ใต้บังคับ บัญชาทำงานอย่างเต็มความสามารถอย่างไรก็ตาม ถ้านิยามความหมายของมนุษยสัมพันธ์ให้แน่ชัดลงไปก็จะพบว่าผู้ให้นิยามไว้แตกต่างกันอยู่บ้างBirtha ได้ให้ทรรศนะของมนุษยสัมพันธ์ว่า " เป็นเรื่องพฤติกรรม ของแต่ละบุคคลกับการปฏิบัต ิของสถาบันที่ก่อให้เกิดผลต่อขอบเขต และความสามารถของ บุคคล ในการที่จะเข้าใจ และได้มาซึ่งความรู้เกี่ยวกับตัวเขา และความสามารถของบุคคล ในการที่จะเข้าใจ และได้มาซึ่งความรู้เกี่ยวกับตัวเขา และผู้อื่น อีกทั้งสามารถที่จะใช้ความรู้ความเข้าใจเหล่านั้นไปปฏิสัมพันธ์ต่อผู้อื่น" 1พนัส หันนาคินทร์ ให้คำอธิบายว่า "มนุษยสัมพันธ์คือความสามารถที่บุคคลจะถ่ายทอดความรู้สึก หรือความคิดไปยังผู้อื่น และในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะเข้าใจความคิด และความรู้สึกของผู้อื่นได้ด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะก่อให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจในกิจการที่บุคคลทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน" 1 สมควรกล่าวย้ำไว้อีกด้วยว่า ปฏิสัมพันธ์ (Interactions) และมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) นั้นแตกต่างกัน แต่ต่างก็เป็นเรื่องของบุคคล โดยตรงหากจะมีคำถามว่า ปฏิสัมพันธ์ และมนุษยสัมพันธ์ มีความแตกต่างกันอย่างไรหรือไม่นั้น อาจจะมิใช่ประเด็นหลักหรือคำถามที่สำคัญ แต่เพื่อให้เห็น และเข้าใจความแตกต่างกับป้องกันมิให้มีความเข้าใจว่า ทั้วสองสิ่งนี้คือสิ่งเดียวกัน จึงสมควรที่จะพิจารณาเฉพาะในที่นี้เพื่อสะดวกแก่การอธิบายบางประการโดยอาศัยข้อเปรีย กล่าวโดยทั่วไป มนุษยสัมพันธ์อาจพิจารณาได้ 2 ระดับ คือ1) ระดับบุคคล : มนุษยสัมพันธ์ หมายถึงความสามารถของบุคคลในอันที่ จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และผู้อื่นก็ไม่มีความทุกข์2) ระดับบริหาร : มนุษยสัมพันธ์ คือ ความสามารถในการทำให้ผู้ใต้บังคับ บัญชาทำงานอย่างเต็มความสามารถอย่างไรก็ตาม ถ้านิยามความหมายของมนุษยสัมพันธ์ให้แน่ชัดลงไปก็จะพบว่าผู้ให้นิยามไว้แตกต่างกันอยู่บ้างBirtha ได้ให้ทรรศนะของมนุษยสัมพันธ์ว่า " เป็นเรื่องพฤติกรรม ของแต่ละบุคคลกับการปฏิบัต ิของสถาบันที่ก่อให้เกิดผลต่อขอบเขต และความสามารถของ บุคคล ในการที่จะเข้าใจ และได้มาซึ่งความรู้เกี่ยวกับตัวเขา และความสามารถของบุคคล ในการที่จะเข้าใจ และได้มาซึ่งความรู้เกี่ยวกับตัวเขา และผู้อื่น อีกทั้งสามารถที่จะใช้ความรู้ความเข้าใจเหล่านั้นไปปฏิสัมพันธ์ต่อผู้อื่น" 1พนัส หันนาคินทร์ ให้คำอธิบายว่า "มนุษยสัมพันธ์คือความสามารถที่บุคคลจะถ่ายทอดความรู้สึก หรือความคิดไปยังผู้อื่น และในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะเข้าใจความคิด และความรู้สึกของผู้อื่นได้ด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะก่อให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจในกิจการที่บุคคลทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน" 1 สมควรกล่าวย้ำไว้อีกด้วยว่า ปฏิสัมพันธ์ (Interactions) และมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) นั้นแตกต่างกัน แต่ต่างก็เป็นเรื่องของบุคคล โดยตรงหากจะมีคำถามว่า ปฏิสัมพันธ์ และมนุษยสัมพันธ์ มีความแตกต่างกันอย่างไรหรือไม่นั้น อาจจะมิใช่ประเด็นหลักหรือคำถามที่สำคัญ แต่เพื่อให้เห็น และเข้าใจความแตกต่างกับป้องกันมิให้มีความเข้าใจว่า ทั้วสองสิ่งนี้คือสิ่งเดียวกัน จึงสมควรที่จะพิจารณาเฉพาะในที่นี้เพื่อสะดวกแก่การอธิบายบางประการโดยอาศัยข้อเปรียบเทียบเพียง 3 ประการ ดังแผนภูมิ

ปฏิสัมพันธ์ ( Interactions )
มนุษยสัมพันธ์ ( Human Relations )
1.เป็นความสัมพันธ์ของบุคคลในวงงาน หรือในองค์การ
2.เป็นการกระทำที่เน้นเอาบทบาท หรือ หน้าที่เป็นแนวทาง
3. มีการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย และ ชัดเจนเมื่อบทบาทหน้าที่ เปลี่ยนแปลง
1.เป็นความสัมพันธ์ของบุคคลโดยทั่วๆ ไปมิใช่เฉพาะองค์การ
2.เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติแห่ง ความเป็น มนุษย์ เป็นพื้นฐาน
3.เป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงนิสัย ใจคอ และน้ำใจไมตรี

แผนภูมิ เปรียบเทียบปฏิสัมพันธ์ และมนุษยสัมพันธ์

1) เงื่อนไขเฉพาะขององค์การ
2) เงื่อนไขทั่วไปขององค์การ3) ลักษณะการจัดองค์การ (Organizings) การสั่งการ (Directings) การจัดคนเข้าทำงาน (Staffings) และการควบคุมงาน (Controllings) เป็นต้น4) ทฤษฎี และแนวความคิดทางการบริหาร (Management Thought) เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ภาพกิจกรรมการจัดอบรม