ความสัมพันธ์ของปฏิพันธ์และการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ

4. ความสัมพันธ์ของปฏิสัมพันธ์ และมนุษยสัมพันธ์ :

เมื่อพิจารณาจากความหมาย และความแตกต่างของปฏิสัมพันธ์ และมนุษยสัมพันธ์ (Interactions and Human Relations) แล้ว สิ่งที่น่าสนใจที่สุดก็คือ การพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของปฏิสัมพันธ์ และมนุษยสัมพันธ์ กล่าวโดยสรุป ทั้งปฏิสัมพันธ์ และมนุษยสัมพันธ์ จะมีความใกล้ชิดเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ และเอื้ออำนวยต่อกันอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าพิจารณาปรากฏการณ์ของปฏิสัมพันธ์ และมนุษยสัมพันธ์ภายในองค์การด้วย ทั้งสองสิ่งนี้จะต้องประสาน และสอดคล้องกันดุจเหรียญ ซึ่งต้องมีทั้งสองด้าน จะขาดด้านใดด้านหนึ่งเสียมิได้ ฉันใดก็ฉันนั้น กล่าวคือ หากมนุษยสัมพันธ์ของบุคคลในองค์การเป็นไปด้วยดี ก็จะเป็นสิ่งกระตุ้น และชักนำให้ปฏิสัมพันธ์ในองค์การนั้นดำเนินไปด้วยดี และถ้าหากปฏิสัมพันในองค์การเป็นไปอย่างราบรื่นก็จะเป็นผลให้เกิดมนุษยสัมพันธ์โดยทั่วไปของบุคคลในองค์การนั้น ๆ เป็นไปอย่างแนบแน่นองค์การบรรลุจุดมุ่งหมายได้โดยอัตโนมัติอีกด้วย หรืออีกนัยหนึ่ง หากใช้แผนภูมที่ I เป็นสื่อนำความคิดในที่นี้ก็จะสามารถกล่าวได้ว่า ลักษณะ และรูปแบบของปฏิสัมพันธ์ในองค์การใด ๆ ย่อมส่งผลต่อลักษณะ และรูปแบบของปฏิสัมพันธ์ขององค์การนั้น ๆ จนก่อให้เกิดความสำเร็จ หรือความล้มเหลวขององค์การได้ในที่สุด



5. การเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ

นับตั้งแต่หน่วยงานเล็ก จนถึงหน่วยงานใหญ่ องค์การระดับเล็กจนถึงระดับใหญ่ ย่อมจะให้ ความสำคัญต่อ มนุษยสัมพันธ์ ในองค์การของตนอยู่เสมอ ปัญหามีอยู่ประการเดียวก็คือ การเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ นั้นจะเริ่มต้นขึ้น ได้อย่างไร เพราะเป็นสิ่ง ที่ไม่ง่ายนัก แต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่ยาก จนไม่อาจกระทำได้การเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ ควรเป็นเรื่องของทางวิชาการแทนการปล่อย ปะละเลยให้เป็นไปโดยธรรมชาติ เป็นเรื่องที่มีแต่ได้กับได้เท่านั้น แต่เนื่องจากผลเสียของการละเลยเรื่องมนุษยสัมพันธ์นี้ไม่ส่งผลชัดเจนขึ้นทันทีทันใด แต่จะค่อย ๆ เสื่อมโทรม และร่วงโรยลงทีละน้อย ๆ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ความเจริญก้าวหน้าทางมนุษยสัมพันธ์ในองค์การเป็นไปอย่างเชื่องช้า เช่นเดียวกับโรคฟัน มักจะปล่อยทิ้งไว้จนถึงระดับหนึ่ง เท่านั้นจึงจะไปรับการรักษาเยียวยาจาก ทันตแพทย์แท้ที่จริงแล้วการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง และสามารถกระทำหรือก่อให้เกิดขึ้นได้ไม่ยากนัก ทั้งนี้โดยการให้ความรู้ความเข้าใจตลอดจนพัฒนาบุคลากรในด้านต่าง ๆ เช่น1) การพัฒนาทางด้านความรู้ความเข้าใจในวิชาจิตวิทยา2) การพัฒนาทางด้านความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ3) การเสริมสร้างลักษณะนิสัย และการฝึกปฏิบัติต่าง ๆ เช่น กระบวนการกลุ่ม และพฤติกรรมสัมพันธ์ เป็นต้นอย่างไรก็ตามมนุษยสัมพันธ์ในองค์การใด ๆ จะเจริญก้าวหน้าไปได้อย่างไรหรือไม่นั้น ยังขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ อีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ภาพกิจกรรมการจัดอบรม